เมนู

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ โทมนัส-
สินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ อินทรีย์ 6
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี อินทรีย์ 5 กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต
แม้เป็นกิเสสสัมปยุตตโนกิเลสะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส-
กิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ อินทรีย์ 6 กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส-
สัมปยุตตโนกิเลสะก็มี อินทรีย์ 9 เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ อินทรีย์ 3
เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น
กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ อินทรีย์ 3 เป็น
กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ 6
เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้
ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

13. ปิฏฐิทุกวิสัชนา


[254] อินทรีย์ 15 เป็นนทัสสนปหาตัพพะ อินทรีย์ 7 เป็น
ทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี อินทรีย์ 15 เป็นนภาวนา-
ปหาตัพพะ อินทรีย์ 7 เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี
อินทรีย์ 15 เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ 15 เป็นนภาวนาปหา-
ตัพพเหตุกะ อินทรีย์ 7 เป็นภาวนาปหาตัพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนาปหา-
ตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ 9 เป็นอวิตักกะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกะ

อินทรีย์ 12 เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อินทรีย์ 9 เป็นอวิจาระ
โทมนัสสินทรีย์เป็นสวิจาระ อินทรีย์ 12 เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี
อินทรีย์ 1 เป็นอัปปีติกะ อินทรีย์ 11 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี
อินทรีย์ 11 เป็นนปีติสหคตะ อินทรีย์ 11 เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติ-
สหคตะก็มี อินทรีย์ 12 เป็นนสุขสหคตะ อินทรีย์ 10 เป็นสุขสหคตะก็มี
เป็นนสุขสหคตะก็มี อินทรีย์ 12 เป็นนอุเปกขาสหคตะ อินทรีย์ 10 เป็น
อุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ 10 เป็นกามาวจร
อินทรีย์ 3 เป็นนกามาวจร อินทรีย์ 9 เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี
อินทรีย์ 13 เป็นนรูปาวจร อินทรีย์ 9 เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี
อินทรีย์ 14 เป็นนอรูปาวจร อินทรีย์ 8 เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจร
ก็มี อินทรีย์ 10 เป็นปริยาปันนะ อินทรีย์ 3 เป็นอปริยาปันนะ อินทรีย์ 9
เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี อินทรีย์ 11 เป็นอนิยยานิกะ
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นนิยยานิกะ อินทรีย์ 10 เป็นนิยยานิกะก็มี
เป็นอนิยยานิกะก็มี อินทรีย์ 10 เป็นอนิยตะ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็น
นิยตะ อินทรีย์ 11 เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อินทรีย์ 10 เป็นสอุตตระ
อินทรีย์ 3 เป็นอนุตตระ อินทรีย์ 9 เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี
อินทรีย์ 15 เป็นอรณะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสรณะ อินทรีย์ 6 เป็นสรณะ
ก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อินทริยวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


พึงทราบการจำแนกอินทรีย์ แม้ทั้งหมดในปัญหาปุจฉกะ ว่าเป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั้น แหละ อนึ่ง ในอารัมมณติกะ
ทั้งหลาย คำว่า อินทรีย์ 7 เป็นอนารัมมณะ นั้น ตรัสหมายเอาจักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์
แต่ชีวิตินทรีย์ไม่มาในฐานะนี้ เพราะปะปนด้วยอรูป.
บทว่า ทฺวินฺทฺริยา ได้แก่ อินทรีย์ 2 คำนี้ตรัสหมายเอาอินทรีย์ 2
คือ สุขินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เพราะอินทรีย์ 2 นั้น เป็นปริตตารัมมณะ
โดยส่วนเดียว. คำว่า โทมนสฺสินฺทฺริยํ สิยา ปริตฺตารมฺมณํ สิยา
มหคฺคตารมฺมณํ
(โทมนัสสินทรีย์เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตา-
รัมมณะก็มี) ความว่า ในเวลาปรารภกามาวจรธรรมเป็นไปก็เป็นปริตตารัมมณะ
แต่ในเวลาที่ปรารภรูปาวจร อรูปาวจรเป็นไปก็เป็นมหัคคตารัมมณะ และใน
เวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
คำว่า นิวินฺทฺริยา สิยา ปริตฺตารมฺมณา (อินทรีย์ 9 แม้ปริตตา-
รัมมณะก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้น
จริงอยู่ ชีวิตินทรีย์ แม้สงเคราะห์ในรูปธรรมซึ่งไม่มีอารมณ์เพราะระคนด้วย
รูป และสงเคราะห์ในฝ่ายที่เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ได้โดยส่วนแห่งอรูป.
คำว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ 8) ได้แก่ สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์ เพราะอินทรีย์ เหล่านั้น
ไม่รวมอยู่ในมัคคารัมมณติกะ.